โปรโมชั่นพิเศษ! รับส่วนลดทันที 6%* เมื่อชำระค่าบริการติดตั้งกับ dooDeco (ผ่อนนานสูงสุด 4 และ 6 เดือน*) ดูเพิ่มเติม
หน้าแรก
โปรโมชั่นพิเศษ
เกี่ยวกับเรา
บทความ
รีวิวลูกค้า
ติดต่อเรา

ที่นอนมีกี่แบบ? เลือกที่นอนอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ นอนไม่ปวดหลัง

ชวนรู้จัก 6 ประเภทของที่นอน พร้อม 4 วิธีเลือกที่นอนอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ นอนสบาย ไม่ปวดหลัง เพื่อคุณภาพการนอนหลับที่ดีตลอดทั้งคืน

อัพเดตล่าสุด 23 Apr 2025

|

โดย dooDeco

Main Point

  • ในปัจจุบันที่นอนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ที่นอนสปริง ที่นอนยางพารา ที่นอนเมมโมรีโฟม ที่นอนไฮบริด ที่นอนฟองน้ำ และที่นอนสุญญากาศ ซึ่งมีคุณสมบัติ ข้อดี ข้อด้อย ที่แตกต่างกันไป
  • การเลือกที่นอนให้ดีต่อสุขภาพ ควรพิจารณาจากขนาดและความหนาของที่นอน ระดับความแน่นเหมาะสมต่อการรองรับสรีระ วัสดุที่ใช้ผลิต รวมถึงหมั่นดูแลรักษาที่นอนอยู่เสมอ เพื่อยืดอายุการใช้งานได้อย่างยาวนาน


การนอนหลับที่ดี คือ หัวใจสำคัญของการดูแลสุขภาพ เนื่องจากช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง ช่วยลดความเครียด เติมพลังความสดใส และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ “ที่นอน” จึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และถือเป็นการลงทุนเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว สำหรับคนที่กำลังวางแผนเลือกที่นอนให้เหมาะสม dooDeco จะพาไปรู้จัก 6 ประเภทของที่นอน พร้อมวิธีเลือกที่นอนอย่างไรให้ไม่ปวดหลัง มาฝากกัน



ที่นอนมีกี่แบบ? รู้จักประเภทที่นอนก่อนเลือกซื้อ

1. ที่นอนสปริง

ที่นอน  Bonnell Spring

ภาพ: ที่นอน Bonnell Spring



ที่นอนสปริง คือ ที่นอนยอดนิยมในยุคปัจจุบัน ผลิตจากการใช้โครงสปริงเป็นฐาน จึงรองรับน้ำหนักและสรีระร่างกายได้เป็นอย่างดี ช่วยลดแรงกดทับ น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง ระบายอากาศ ไม่อับชื้น ทั้งยังมีระดับความแน่นให้เลือกได้หลากหลาย ในราคาที่จับต้องได้ โดยสปริงที่นิยมใช้ มี 3 ประเภทด้วยกัน

1. Bonnell Spring คือ สปริงที่เชื่อมต่อกันด้วยโครงเหล็ก เป็นรูปทรงนาฬิกาทราย รองรับสรีระร่างกายได้ดี แต่หากมีการขยับตัวระหว่างนอนหลับ อาจส่งแรงสั่นสะเทือนถึงคนที่นอนอีกฝั่งได้

2. Offset Springคือ สปริงที่ถูกพัฒนามาจาก Bonnell Spring ขมวดปมเชื่อมโยงกัน จึงมีความแข็งแรงสูง มีความยืดหยุ่นน้อย หากมีการเคลื่อนไหวระหว่างการนอนจะส่งแรงสั่นสะเทือนไปถึงคนที่นอนอีกฝั่งได้

ที่นอน Pocket Spring

ภาพ: ที่นอน Pocket Spring



3. Pocket Spring คือ สปริงที่ถูกแยกส่วนออกจากกันอย่างอิสระ และหุ้มด้วยถุงผ้าสปันบอนด์ มีความหนาแน่นสูง รองรับน้ำหนักได้ดี ช่วยลดแรงสั่นสะเทือน ยืดหยุ่น ทำให้หากมีการขยับตัว จะไม่ส่งแรงสั่นสะเทือนไปสู่คนที่นอนอีกฝั่ง ช่วยให้นอนหลับได้สบายมากขึ้น



จุดเด่น:

  • ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น
  • มีความนุ่มให้เลือกหลากหลายระดับ
  • มีความยืดหยุ่นสูง รองรับน้ำหนักได้ดี

จุดด้อย:

  • สปริงบางประเภท หากขยับตัว จะส่งแรงสั่นสะเทือนไปยังคนที่นอนอีกฝั่ง
  • สปริงอาจเกิดเสียงดังเมื่อใช้งานอย่างยาวนาน

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ที่ชอบความยืดหยุ่นและการเด้งตัวของที่นอน
  • ผู้ที่มีเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน


2. ที่นอนยางพารา

ที่นอนยางพารา

ภาพ: ที่นอนยางพารา



ที่นอนยางพาราคือ ที่นอนที่ทำมาจากน้ำนมของต้นยางพารา และถูกแปรรูปเป็นวัสดุโฟม มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ยุบตัว จึงมีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่กักเก็บไรฝุ่น ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของร่างกายได้ดี มีความยืดหยุ่นสูง ปรับเปลี่ยนรูปทรงตามสรีระของผู้นอน ทั้งนี้ที่นอนยางพารามีน้ำหนักค่อนข้างมาก และราคาสูงกว่าที่นอนประเภทอื่น



จุดเด่น:

  • แข็งแรง รองรับน้ำหนักได้มาก ลดแรงกดทับ
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • ยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระร่างกายได้ดี ลดอาการปวดเมื่อย

จุดด้อย:

  • อาจมีกลิ่นยางธรรมชาติในช่วงแรกของการใช้งาน
  • มีน้ำหนักมาก ยากต่อการพลิกหรือยกที่นอน
  • ราคาค่อนข้างสูง

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง
  • ผู้ที่มีอาการปวดหลังจากออฟฟิศซินโดรม


doodeco doodeco

3. ที่นอนเมมโมรีโฟม

ที่นอนเมมโมรีโฟม

ภาพ: ที่นอนเมมโมรีโฟม



ที่นอนเมมโมรีโฟม คือ ที่นอนที่ทำมาจากเมมโมรีโฟม หรือวัสดุโพลียูรีเทนที่มีความหนาแน่นสูง มีความอ่อนนุ่ม โอบอุ้มสรีระร่างกายรอบด้าน ช่วยลดการปวดข้อ คอ และหลัง รวมถึงบรรเทาอาการปวดกระดูกเชิงกรานของผู้หญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้เมมโมรีโฟมยังมีคุณสมบัติในการคืนตัวช้า ทำให้การเคลื่อนไหวไม่รบกวนคนที่นอนอีกฝั่ง แต่ด้วยลักษณะของวัสดุอาจทำให้รู้สึกอุ่นหรือร้อนในขณะนอนหลับ



จุดเด่น:

  • น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก
  • ลดแรงกดทับได้ดี เข้ากับสรีระของร่างกาย ให้ความรู้สึกถูกโอบอุ้ม
  • กระจายน้ำหนักได้ดี การขยับตัวไม่รบกวนคนที่นอนอีกฝั่ง

จุดด้อย:

  • กักเก็บความร้อนสูง ไม่เหมาะกับคนขี้ร้อนง่าย หรือมีเหงื่อออกมาก
  • อาจมีกลิ่นเคมีในการใช้งานช่วงแรก
  • อาจยุบตัว เมื่อใช้งานในระยะยาวนาน

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยอาการปวดกระดูกเชิงกราน
  • ผู้ที่นอนหลับยาก และต้องการลดการรบกวนจากการเคลื่อนไหวของคนที่นอนอีกฝั่ง


4. ที่นอนไฮบริด

ที่นอนไฮบริด

ภาพ: ที่นอนไฮบริด



ที่นอนไฮบริด คือ ที่นอนที่ทำมาจากการผสมผสานวัสดุหลากหลายประเภท เช่น สปริง โฟม และยางพารา เพิ่มความยืดหยุ่นในการรองรับสรีระร่างกาย ช่วยลดแรงกดทับ ช่วยในการนอนหลับได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความแน่นให้เลือกหลายระดับ ระบายความร้อนได้ดีมากขึ้น เพราะมีสปริงเป็นส่วนประกอบ มีความยืดหยุ่นสูง เมื่อขยับตัวจะไม่มีแรงสั่นสะเทือนรบกวนคนที่นอนอีกฝั่ง



จุดเด่น:

  • ผสมผสานข้อดีของหลายวัสดุเข้าด้วยกัน
  • ระบายความอากาศได้ดี ป้องกันความร้อนส่วนเกิน
  • ยืดหยุ่นสูง ง่ายต่อการขยับตัว

จุดด้อย:

  • ราคาค่อนข้างสูง เพราะใช้วัสดุหลากหลายชนิด
  • มีน้ำหนักมาก เพราะมีวัสดุทั้งยางพาราและสปริง

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะเนื้อสัมผัสยืดหยุ่นสูง ไม่จม พลิกตัวได้ง่าย
  • ผู้ที่มีปัญหาตื่นนอนง่าย เพราะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากการขยับตัว


5. ที่นอนฟองน้ำ

ที่นอนฟองน้ำ

ภาพ: ที่นอนฟองน้ำ



ที่นอนฟองน้ำ คือ ที่นอนที่ทำมาจากการนำฟองน้ำชิ้นเล็ก ๆ มาผ่านกระบวนการทางเคมี บีบอัดด้วยแรงดันสูง และขึ้นรูปทรงเป็นที่นอน สามารถนำไปผสมผสานกับวัสดุประเภทอื่น เช่น ใยมะพร้าว เพื่อเสริมประสิทธิภาพความแข็งแรง รองรับสรีระร่างกายได้ดี ให้เนื้อสัมผัสที่นุ่ม น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ทั้งนี้ที่นอนฟองน้ำอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะเกิดการยุบตัวได้ค่อนข้างง่าย



จุดเด่น:

  • ราคาไม่สูง
  • สัมผัสนุ่ม น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก
  • รองรับน้ำหนักและสรีระร่างกายได้ดี

จุดด้อย:

  • อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับเกรดของฟองน้ำ
  • ความหนาแน่นต่ำ ยุบตัวได้ง่าย
  • ระบายอากาศน้อย ไม่ทนความชื้น อาจเกิดกลิ่นอับได้ง่าย

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ที่มีงบประมาณไม่มาก
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่มาก เพราะมีความหนาแน่นต่ำ
  • ผู้ที่ชอบที่นอนน้ำหนักเบาสบาย


6. ที่นอนสุญญากาศ

ที่นอนสุญญากาศ

ภาพ: ที่นอนสุญญากาศ



ที่นอนสุญญากาศ คือ ที่นอนที่ถูกบรรจุมาในรูปแบบม้วน ซึ่งผ่านกระบวนการไล่อากาศออกจนหมดและอัดสุญญากาศ เพื่อความสะดวกต่อการขนย้าย ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่จำกัด เช่น คอนโดมิเนียม โดยมากมักทำจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง เช่น เมมโมรี่โฟม จึงมีคุณสมบัติคืนตัวได้เร็ว และยังให้เนื้อสัมผัสมีความยืดหยุ่น สามารถระบายอากาศได้ดี ลดการสะสมของเชื้อรา ช่วยลดแรงกดทับ และรองรับเข้ากับสรีระร่างกายของผู้นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ



จุดเด่น:

  • กะทัดรัด ติดตั้งง่าย ขนย้ายสะดวก
  • พับเก็บได้ ประหยัดพื้นที่เมื่อไม่ใช้งาน
  • คืนตัวเร็ว รองรับการสั่นสะเทือน

จุดด้อย:

  • อาจรองรับน้ำหนักตัวได้จำกัด
  • ความหนาแน่นน้อยกว่าที่นอนรูปแบบอื่น

เหมาะสำหรับ:

  • ผู้ที่ต้องการใช้ในพื้นที่จำกัด หรือไม่สะดวกในการขนย้าย
  • ผู้ที่ต้องการที่นอนสำหรับการเดินทาง


4 ปัจจัยการเลือกที่นอนให้ดีต่อสุขภาพ นอนสบาย ไม่ปวดหลัง

1. ขนาดและความหนาของที่นอน

ความหนาของที่นอน

ภาพ: ความหนาของที่นอน



จุดเริ่มต้นสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและการนอนหลับที่ดีของเรา มาจากการเลือกขนาดและความหนาของที่นอนให้เหมาะสม เพราะที่นอนที่คับแคบเกินไปอาจทำให้นอนหลับไม่สบาย และส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังได้ในระยะยาว



ขนาดที่นอนที่เหมาะสม:

  • ขนาดเตียง 3 หรือ 3.5 ฟุต: เหมาะสำหรับการนอนคนเดียว หรือห้องนอนมีขนาดเล็ก
  • ขนาดเตียง 5 ฟุต: เหมาะสำหรับการนอนเป็นคู่ หรือผู้ที่ต้องการพื้นที่การนอนมากขึ้น โดยไม่กินพื้นที่ห้องมากเกินไป
  • ขนาดเตียง 6 ฟุต: เหมาะสำหรับการนอนเป็นคู่ หรือผู้ที่ต้องการพื้นที่การนอนอย่างกว้างขวาง หรือครอบครัวที่มีเด็กมานอนด้วย

ความหนาของที่นอนที่เหมาะสม

  • ความหนาที่นอน 4-10 นิ้ว: เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเบาหรือเด็ก
  • ความหนาที่นอน 10-12 นิ้ว: เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ทั่วไป ให้การรองรับที่เพียงพอ
  • ความหนาที่นอน 12-14 นิ้ว: เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักมาก หรือต้องการความสบายเป็นพิเศษ


2. ระดับความแน่นของเตียงกับการรองรับสรีระ

การทดสอบความแน่นของที่นอน

ภาพ: การทดสอบความแน่นของที่นอน



แต่ละคนมีสภาพร่างกายที่แตกต่างกัน การเลือกที่นอนที่ดี ควรพิจารณาระดับความแข็ง-นุ่มให้เหมาะสมกับรูปร่าง ซึ่งควรรองรับสรีระ กระดูกสันหลัง และส่วนโค้งเว้าของร่างกายตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยขณะนอนหลับ

  • สรีระที่มีไหล่กว้างและเอวกว้างกว่า: เหมาะสำหรับที่นอนเนื้อแน่น เช่น ที่นอนยางพารา ที่นอนไฮบริด ที่มีจุดรองรับน้ำหนักได้ดี ช่วยลดแรงกดทับบริเวณช่วงไหล่และร่างกายส่วนบน
  • สรีระที่มีไหล่กว้างและเอวคอด: เหมาะสำหรับที่นอนแน่นปานกลาง เช่น ที่นอนสปริง ที่นอนเมมโมรีโฟม ที่มีจุดรองรับน้ำหนักเหมาะสม ช่วยลดแรงกดทับบริเวณไหล่
  • สรีระที่มีไหล่แคบและเอวคอด: เหมาะสำหรับที่นอนที่ช่วยรองรับการเรียงตัวของกระดูกสันหลังให้ตรงกันตามธรรมชาติ เช่น ที่นอนยางพารา ที่นอนเมมโมรีโฟม และเลือกระดับความแน่นที่ร่างกายนอนลงได้พอดี
  • สรีระที่มีไหล่แคบและเอวกว้าง: เหมาะสำหรับที่นอนที่รองรับน้ำหนักบริเวณสะโพก และช่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรง เช่น ที่นอนเมมโมรีโฟม


3. วัสดุและคุณสมบัติพิเศษ

ผู้หญิงตื่นนอนด้วยความสดชื่น

ภาพ: ผู้หญิงตื่นนอนด้วยความสดชื่น



คุณภาพของการนอนหลับที่ดีตลอดคืน มาจากการเลือกใช้วัสดุที่เข้ากับการใช้นอนของเรา เพราะแต่ละวัสดุมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งผิวสัมผัส ความยืดหยุ่น รวมถึงการกระจายน้ำหนัก

วัสดุที่นอน เหมาะสำหรับ
ที่นอนสปริง ผู้ที่ชอบความยืดหยุ่น การเด้งตัวของที่นอน และผู้ที่มักมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
ที่นอนยางพารา ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง และผู้ที่มีอาการปวดหลังจากออฟฟิศซินโดรม
ที่นอนเมมโมรีโฟม ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ผู้ที่นอนหลับยาก และผู้หญิงตั้งครรภ์
ที่นอนไฮบริด ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก และผู้ที่มีปัญหาตื่นนอนง่าย ลดแรงสั่นสะเทือนจากการขยับตัว
ที่นอนฟองน้ำ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวไม่มาก และชอบที่นอนน้ำหนักเบาสบาย
ที่นอนสุญญากาศ ผู้ที่ต้องการใช้งานที่นอนในพื้นที่จำกัด เช่น คอนโดมิเนียม หรือใช้สำหรับการเดินทาง

นอกจากการเลือกที่นอนจากวัสดุหลักแล้ว ในปัจจุบัน ยังมีการพัฒนาคุณสมบัติพิเศษของที่นอนที่ช่วยทำให้การนอนหลับของเรามีประสิทธิภาพและสุขสบายตลอดทั้งคืนมากขึ้น เช่น

  • เทคโนโลยีการปรับอุณหภูมิ: ช่วยปรับอุณหภูมิที่นอนให้เย็นสบายหรืออบอุ่นตามที่ต้องการ เพิ่มความผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ
  • การระบายอากาศ: ช่วยลดความร้อนส่วนเกินและความชื้น ทำให้นอนหลับสบายมากขึ้
  • การลดการเคลื่อนไหว: ลดการรบกวนเมื่อคนที่นอนอีกฝั่งขยับตัว ช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น
  • การเคลือบสารป้องกันแบคทีเรีย: ช่วยลดปัญหาไรฝุ่น และอาการแพ้ต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้


4. ความทนทานและการดูแลรักษา

การดูดฝุ่นทำความสะอาดที่นอน

ภาพ: การดูดฝุ่นทำความสะอาดที่นอน



การเลือกที่นอนที่มีความทนทานและใช้งานได้ระยะยาวก็มีผลต่อการนอนเช่นกัน เนื่องจากสาเหตุของอาการปวดหลังเรื้อรัง อาจมาจากที่นอนเสื่อมสภาพ ทำให้ความสามารถในการรองรับสรีระร่างกายลดลง

โดยทั่วไปแล้ว ควรเปลี่ยนที่นอนทุก ๆ 7 ปี เพื่อสุขภาพการนอนหลับที่ดี รวมถึงควรหมั่นดูแลรักษาที่นอนอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

วิธีดูแลรักษาที่นอนเพื่อยืดอายุการใช้งาน

  • พลิกและหมุนที่นอน:ควรพลิกและหมุนที่นอนทุก 3-6 เดือน เพื่อให้ที่นอนคงรูปเดิม และป้องกันการยุบตัวจากการใช้งานในตำแหน่งเดิม
  • หมั่นทำความสะอาดที่นอนเป็นประจำ: ควรดูดฝุ่นที่นอนอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรก ฝุ่น และแบคทีเรีย
  • เลือกผ้าปูที่นอนคุณภาพดี: ยืดอายุการใช้งานของที่นอน ด้วยการเลือกผ้าปูที่นอนและผ้าคลุมที่มีมาตรฐาน ไม่มีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง: หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ที่นอนเกิดความเสียหาย เช่น กระโดดบนที่นอน ทำน้ำหก เกิดคราบสกปรก
  • ระบายอากาศให้ที่นอน: จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก เช่น เปิดหน้าต่าง พัดลมระบายอากาศ เพื่อลดความอับชื้น


ออกแบบห้องนอนให้น่าอยู่อาศัย ด้วยทีมงานมืออาชีพจาก dooDeco

หากใครกำลังมองหาทีมผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบห้องนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม น่าอยู่อาศัย ทีมงาน dooDeco พร้อมให้บริการด้วยดีไซเนอร์มืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่เข้าใจความต้องการของทุกไลฟ์สไตล์อย่างแท้จริง พร้อมมุ่งมั่นที่จะช่วยสร้างพื้นที่แห่งการพักผ่อนที่สุขสบาย ผ่านการใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิต พร้อมให้ทุกคนอยู่อาศัยได้อย่างมีความสุข ท่ามกลางพื้นที่ที่ออกแบบด้วยความเข้าใจ

สามารถดูผลงานการออกแบบจาก dooDeco ได้ที่นี่


dooDeco รับออกแบบตกแต่งภายในห้องนอน ดีไซน์สวยงาม ครบครันทุกฟังก์ชัน

doodeco doodeco

  • เราให้บริการออกแบบ บิ้วอิน-ฟิตอิน ด้วยเทคโนโลยีผลิตจากโรงงานที่มีคุณภาพและมาตรฐาน พร้อมติดตั้งหน้างานในระยะเวลาอันสั้น ลูกค้าสามารถ Customize ขนาดและสั่งผลิตให้พอดีกับพื้นที่ได้
  • ไม่ทิ้งงาน 100% เพราะเรามี Project Manager คอยดูแลงานตั้งแต่ต้นจนจบ
  • เห็นภาพรวมห้อง เพราะเรามี Interior Designer ช่วยออกแบบพร้อมขึ้นรูป 3D ให้
  • คุมงบได้ไม่บานปลาย เพราะเรามี ใบเสนอราคา BOQ รายชิ้น
  • รับประกันงาน 1 ปีเต็ม หมดกังวลเรื่องบริการหลังการขาย


บทความอื่นๆ